Skip to main content

กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง 2


กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานที่สำคัญ ดังนี้1. เครื่องจักร2. ภาวะแวดล้อม3. สารเคมี4. ไฟฟ้า5. ประดาน้ำ6. ลิฟท์ขนส่งวัสดุชั่วคราว7. นั่งร้าน8. เขตก่อสร้าง9. ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง10. ปั้นจั่น11. การตอกเสาเข็ม12. สถานที่อับอากาศ13. ตกจากที่สูง วัสดุกระเด็น ตกหล่นฯ14. การป้องกันและระงับอัคคีภัยฯ15. หม้อน้ำ16. สารเคมีอันตราย17. คณะกรรมการความปลอดภัยฯประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเรื่อง “คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” (27 มิถุนายน 2538)ประเภทกิจการ1. เหมืองแร่ เหมืองหิน ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี2. การผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมบำรุง เก็บรักษาฯ3. การก่อสร้าง4. ขนส่ง5. โรงแรม6. ห้างสรรพสินค้า7. สถานีบริการ/ จำหน่ายน้ำมัน/ แก๊ส8. สถานพยาบาล9. สถาบันการเงิน10. อื่นๆสาระสำคัญ- สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 50 คน ต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยฯ (คปภ.)- สถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ไม่ถึง 50 คน ต้องจัดให้มีผู้ดูแลด้านความปลอดภัยฯหน้าที่นายจ้าง- ต้องจัดให้มี คปภ. ภายใน 30 วัน- ปิดประกาศรายชื่อ/ หน้าที่ คปภ. โดยเปิดเผยไม่น้อยกว่า 15 วัน- แจ้งการแต่งตั้งต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานภายใน 15 วันหน้าที่ คปภ.1. ประชุมอย่างน้อยเดือนละครั้ง2. สำรวจด้านความปลอดภัยเดือนละครั้ง3. รายงาน / เสนอแนะมาตรการปรับปรุงแก้ไขต่อนายจ้าง4. ส่งเสริมกิจกรรมความปลอดภัย5. กำหนดกฎระเบียบความปลอดภัย6. จัดทำนโยบาย, แผนงาน โครงการความปลอดภัย7. จัดโครงการ/ แผนงานอบรม8. ติดตามความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง9. รายงานผลการปฏิบัติงานต่อนายจ้าง10. ปฏิบัติงานที่อื่นที่นายจ้างมอบหมายเรื่อง “ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง”(31 มีนาคม 2546)

ประเภทกิจการ1. เหมืองแร่ เหมือนหิน ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี2. การผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมบำรุงเก็บรักษาฯ3. การก่อสร้าง4. การขนส่ง5. สถานีบริการ / จำหน่ายน้ำมัน / แก๊ส6. อื่นๆสถานประกอบการที่เข้าข่ายทั้ง 5 ประเภทต้องแต่งตั้งให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย (จป.) 3 ระดับ ดังนี้1. จป. บริหาร2. จป. หัวหน้างาน3. จป. พื้นฐาน / วิชาชีพหมายเหตุ : ต้องจัดให้มี จป.วิชาชีพ เมื่อมีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปหน้าที่นายจ้าง1. อบรม/ แต่งตั้ง จป. ตามที่ กม. กำหนด ภายใน 180 วัน2. แจ้ง จป. ต่ออธิบดี ภายใน 30 วัน นับแต่วันแต่งตั้ง3. แจ้ง จป. ทดแทน จป. คนเดิม ภานใน 60 วัน4. รายงานการปฏิบัติงานของ จป. ทุกๆ 3 เดือน5. จัดให้มีการอบรมลูกจ้างใหม่ / เปลี่ยนงาน6. แจ้งข้อมูลงานเสี่ยงภัยให้ลูกจ้างทราบ ก่อนการปฏิบัติงานหน้าที่ของ จป. บริหาร1. กำกับดูแลให้ จป. พื้นฐาน จป. หัวหน้างาน จป. วิชาชีพ ปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ2. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงาน เกี่ยวความปลอดภัยหน้าที่ของ จป.

หัวหน้างาน

1. กำกับดูแลให้ลูกจ้าง ปฏิบัติตามกฎระเบียบ คำสั่งและมาตรการความปลอดภัย

2. สอนวิธีการปฏิบัติงานให้แก่ลูกจ้าง

3. ตรวจสอบสภาพการทำงาน ก่อนการปฏิบัติงาน

4. ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย รายงานและเสนอแนะต่อนายจ้าง

5. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการความปลอดภัย

6. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ จป. บริหารมอบหมายหน้าที่ของ จป.

วิชาชีพ

1. กำกับดูแลให้ลูกจ้าง ปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งและมาตรการความปลอดภัย

2. ตรวจสอบและเสนอแนะนายจ้าง

3. ตรวจสอบการปฏิบัติงานของสถานประกอบการให้เป็นไปตามแผน

4. ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย รายงานและเสนอแนะต่อนายจ้าง

5. แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้าง

6. จัดทำแผนงาน โครงการ มาตรการด้านความปลอดภัยต่อนายจ้าง

7. รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล สถิติการประสบอันตรายของลูกจ้างหน้าที่ของ จป.

พื้นฐาน

1. แนะนำให้ลูกจ้าง ปฏิบัติตามระเบียบ คำสั่งและมาตรการความปลอดภัย

2. สำรวจสภาพการทำงาน รายงาน เสนอแนะ แนวทางการแก้ไขต่อนายจ้าง

3. รายงานการประสบอันตราย รายงาน และ เสนอแนะต่อนายจ้าง

4. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับ ความปลอดภัย

5. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ จป. หัวหน้างาน จป. บริหารมอบหมาย